4 หลักคิดพิชิตการออกกำลังกาย ให้ฟิตแอนด์เฟิร์ม

ส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพ และรูปร่างที่ดี คือต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มะช่าย ปะเดี๋ยว ปะด๋าว เห่อ คึกเป็นพัก ๆ ตอนพักก็พักซะยาวนานเลย แต่ถ้ากินละก็ขอกินนาน ๆ หึหึ!!! แล้วถ้าอยากออกกำลังกายเพื่อลดความอ้วน เพื่อสร้างความแข็งแรง หรือเพื่อเล่นกีฬาให้ดีขึ้น มันต้องคิดยังไง วางแผนแบบไหนดี เพื่อให้เราออกกำลังได้อย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยของเราไปเลย มาดูกันกับ 4 หลักคิดพิชิตการออกกำลังกาย ตามนี้เลยครับ

  1. บ่อยแค่ไหน ถามใจเธอดู ความบ่อยของการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน หรือนาน ๆ นานมาก ถึงได้ออกกำลังกาย ควรเริ่มจากบ่อยน้อยไปหาบ่อยมากก่อนดีที่สุด มิเช่นนั้นอาจจะบาดเจ็บกล้ามเนื้อได้ อย่าหักโหมครับ พอดีกับตัวเองดีที่สุด แนะนำเลย ออกกำลังกายวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละประมาณ 3 วัน เนื่องจากกล้ามเนื้อจะใช้เวลา ในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับสู่สภาพพร้อมออกกำลังกายอีกครั้งต้องใช้เวลา 48 ชั่วโมง แต่ในคนที่มีการออกกำลังกายบ่อยเป็นประจำอยู่แล้ว เราสามารถเพิ่มวันได้แต่ไม่ควรเกิน 6 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างน้อย 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง
    1. บ่อยแค่ไหน กับการออกกำลังกาย

    1. บ่อยแค่ไหน กับการออกกำลังกาย (เครดิตภาพ https://pixabay.com)

     

  2. หนักแค่ไหน  ความหนักในการออกกำลังกาย ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการออกกำลังกาย เช่น ออกกำลังกายเพื่อลดความอ้วน จะต้องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ในช่วง 60-70% ของอัตราการเต้นสูงสุด เพราะช่วงนี้จะมีอัตราการใช้พลังงานจากไขมันสูงที่สุด จึงเหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนักที่สุด แต่ถ้าเราต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้อยู่ในช่วง 50-60% เป็นต้น  แล้วอัตราการเต้นสูงสุดมาจากไหน มีวิธีคิดแบบนี้ครับ ง่าย ๆ คืออัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของแต่ละคนจะเท่ากับ  220 – อายุเช่น เรามีอายุ 49 ปี เราจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเท่ากับ  220 – 49  =  171 ครั้งต่อนาทีหรือ น้องลำไย อายุ 18 ปี ลำไยจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเท่ากับ  220 – 8  =  202 ครั้งต่อนาทีจะเห็นได้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจนั้น ยิ่งเรามีอายุที่มากขึ้นหัวใจก็จะทำงานได้ช้าลง และถ้าหากหัวใจของเราเต้นเกือบถึงอัตราสูงสุดหรือเทียบเท่า ก็มีโอกาสที่จะไปเฝ้ายมบาลได้เนื่องจากหัวใจจะทำงานหนัก เพื่อบีบเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่ายกายไม่ทันและทำให้เราเกิดอาการช็อคได้ครับผม
    2.

    2. หนักแค่ไหน ถึงโอเค (เครดิตภาพ https://pixabay.com)

     

  3. นานแค่ไหน  การที่เราจะออกกำลังกายนานแค่ไหนนั้น จะต้องสอดคล้องกับความหนักในข้อ 2 ด้วยครับ โดยให้ยึดหลักดังนี้ หากมีความหนักมากก็จะใช้เวลานานน้อยลง แต่ถ้ามีความหนักน้อยก็จะใช้เวลานานมากขึ้น โดยปกติแล้วการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยรวมทั่วไป ควรอยู่ที่ 20-30 นาทีต่อครั้งเป็นอย่างน้อย มากกว่านี้ก็ได้นะครับ ไม่ผิดกติกาใด ๆ
    3.

    3. นานแค่ไหน ถึงจะดี (เครดิตภาพ https://pixabay.com)

     

  4. เลือกไรดี การออกกำลังกายมีมากมาย เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ยกน้ำหนัก เป็นต้น เอาที่ชอบ เอาที่ถนัด ทำให้เราวางแผนการออกกำลังกายได้ง่ายและไม่เบื่อ ซึ่งชนิดของการออกกำลังกายแต่ละอย่างจะมีความหนักแตกต่างกัน อย่างการวิ่งอยู่ที่การคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ในขณะที่ความหนักของการเล่นเวทเทรนนิ่งจะอยู่ที่น้ำหนักที่ใช้และจำนวนครั้ง ถ้าเราต้องการออกกำลังเพื่อลดน้ำหนัก เราควรออกกำลังกายผสมกันระหว่างแบบที่เน้นการเผาผลาญ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก และแบบเพิ่มสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เวทเทรนนิ่ง บอดี้เวท เป็นต้น เหตุผลก็เพราะว่า แบบเน้นการเผาผลาญจะเผาผลาญพลังงาน และดึงเอาไขมันของเราออกมาใช้งานให้หมดไป แต่มันจะเผาผลาญตอนที่เราออกกำลังเท่านั้น ส่วนแบบเพิ่มกล้ามเนื้อ จะทำให้มวลกล้ามเนื้อของร่างกายของเราเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญเพิ่มมากขึ้น ค่า BMR เพิ่มมากขึ้น วันไหนไม่ได้ออกกำลังกายอัตราการเผาผลาญก็ยังสูงอยู่ดีทำให้เราอ้วนยากครับผม
    4.

    4. เลือกไรดีล่ะ (เครดิตภาพ https://pixabay.com)

    หลังจากที่เราตัดสินใจที่จะออกกำลังกายกันแล้ว เราควรที่จะวางแผนการออกกำลังกายก่อน โดยใช้ 4 หลักคิดพิชิตการออกกำลังกาย ให้ฟิตแอนด์เฟิร์ม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การออกกำลังกายของเราสัมฤทธิ์ผล คือ มีวินัย ในการทำตามแผนการที่เราวางแผนไว้ แค่นี้รูปร่างฟิตแอนด์เฟิร์มก็เป็นของเราทุกคน

ลิงค์แนะนำ : 3 ท่า 5 นาที สร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มเผาผลาญให้หุ่นดีเว่อร์! ปัง!!!

เป็นเพื่อนแชทพูดคุยกันได้ที่ Line id : chavanut

หรือถนัด Talk ก็นี่เลย! มือถือ : 080 966 6866

อาหารทอดหรือผัดเลือกจานไหนดี ?

สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงลดหรือควบคุมน้ำหนักแล้วนั้น การเลือกอาหารเข้าปากสำคัญมาก เพราะ “สิ่งที่คุณเอาเข้าปาก จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างของคุณ” อาหารในชีวิตประจำวันของคนไทยโดยทั่วไปส่วนมากก็หนีไม่พ้น “ทอดกับผัด”

อาหารทอด เช่น ไก่ทอด หมูทอดกระเทียม ปาท่องโก๋ ลูกชิ้นปลากรายทอด ลาบทอด เฟรนซ์ฟราย หอยทอด ฯลฯ

Processed with MOLDIV

อาหารทอด

อาหารผัด เช่น ผัดผักรวม ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดไทย ผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ผัดผักบุ้งไฟแดง ฯลฯ

Processed with MOLDIV

อาหารผัด

ดูทั้งสองประเภทอาหารแล้ว ไม่ว่าจะทอดหรือผัด ก็ไม่เหมาะสำหรับคนลดหรือควบคุมน้ำหนักทั้งนั้นแหละ แต่ก็นะ ในชีวิตประจำวันบางครั้งก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ถามว่า “ถ้าให้เลือกกินระหว่างทอดกับผัด เราควรเลือกสิ่งไหน ?”

ตอบแบบมีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเป็นต้องเลือกระหว่างทอดกับผัด ขอตอบว่า……. เพื่อสุขภาพ “เลือกอาหารผัดครับ และควรเลี่ยงอาหารทอด”

เหตุผลที่ควรเลี่ยงอาหารทอด ยิ่งโดยเฉพาะ อาหารทอดในน้ำมันลอย เช่น ปาท่องโก๋ ขนมแป้งทอด เฟรนซ์ฟรายเป็นต้น อาหารทอดในน้ำมันลอย คือ อาหารที่ขณะทอดน้ำมันจะเยอะมาก พอใส่อาหารไปจะจมท่วมอาหาร พอสุกก็จะลอยขึ้นมา อาหารแบบนี้น้ำมันจะเยอะมาก แถมถ้าเป็นน้ำมันที่ทอดหลายๆ ครั้ง ก็บวกสารก่อมะเร็งเข้าไปอีก แคลอรี่ก็สูงเพราะมันจมน้ำมันขณะทอดอมน้ำมันเต็ม ๆ (น้ำมัน 1 กรัมเท่ากับ 9 แคลอรี่ มากกว่าแป้งซึ่งแป้งเท่ากับ 4 แคลอรี่)

ส่วนอาหารผัด เรายังสามารถควบคุมปริมาณน้ำมันได้ หรือขณะที่เราสั่งกับข้าวราดข้าวก็บอกแม่ค้าไปว่า น้ำมันในถาดไม่ต้องตักราดมา เอาเฉพาะตัวอาหารจริงๆ พอ แค่นี้เราก็พอที่จะลดปริมาณน้ำมันได้ครับ เพื่อสุขภาพรูปร่างของเรา

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะทอดหรือผัดก็ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคนที่กำลังลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักอยู่ แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกก็ ขอให้เลือกอย่างฉลาดนะครับ “ตกลงว่าจะรับทอดหรือผัดดี?”

เป็นเพื่อนแชทพูดคุยกันได้ที่ Line id : chavanut

หรือถนัด Talk ก็นี่เลย! มือถือ : 080 966 6866