จากในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันนี้ มันกำลังบอกว่า “อ่อนแอก็แพ้ไป” เหมือนโลกกะลังจัดระเบียบชีวิตของมนุษย์ใหม่ที่เราเรียกกันว่า New Normal แบบใช้มาตรการรุนแรงกันเลยทีเดียวเชียว พลันทำให้นึกถึงประโยคหนึ่งของชายคนนี้
ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ (Charles Darwin) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เคยกล่าวไว้เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วว่า…..
“ไม่ใช่สายพันธุ์ ที่ฉลาดหรือแข็งแกร่งที่สุดที่อยู่รอด หากแต่เป็นการปรับตัว“
การปรับตัวใช่มั๊ย? ที่ทำให้เราอยู่รอดต่อไปได้ในโลกสวยงามใบนี้ต่อไป ดูดิ!!! ขนาดไวรัสมันยังกลายพันธุ์ ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของมัน มันถึงได้อยู่คู่โลกมาจนถึงปัจจุบัน แล้วนี่ถ้าเราไม่ปรับตัวหรือทำอะไรสักอย่าง เราคงต้องสูญพันธุ์เพราะพวกมันแน่ๆ แล้วเราจะปรับตัวยังไงถึงจะอยู่รอดได้ ในสถานการณ์ไวรัสระบาด เริ่มจากตัวเองง่ายที่สุด โดยการสร้างหรือเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตัวเราเอง ด้วยสารอาหารเหล่านี้ นี่แหละที่เราทำได้ด้วยตัวเอง เริ่มจาก…
โปรตีน (PROTEIN)
โปรตีน สารสำคัญในการสร้างเซลล์ และสารต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน
สรรพคุณของโปรตีน
- ให้กรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
- ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและโครงสร้างของร่างกาย รวมทั้งช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สึกหรอ
- สร้างสารทำงานต่างๆ ในร่างกาย เช่น เอนไซม์และฮอร์โมนหลายชนิด รวมทั้งช่วยนำพาและขนส่งสารหลายชนิดในเลือด
- สร้างภูมิต้านทาน โดยสร้างสารแอนติบอดีทำหน้าที่จับและทำลายสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
- ดูแลสมดุลของเหลว โปรตีนในเลือดทำหน้าที่รักษาสมดุลออสโมติก (Osmotic Balance) ทั้งในเลือดและในเซลล์
- เนื่องจากเซลล์และสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกันเป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่ได้จากอาหารโปรตีนที่ร่างกายรับประทานเข้าไป
- ดูแลสมดุลกรด-ด่าง โปรตีนในเลือดช่วยควบคุมปริมาณอิออนไฮโดรเจน ทำให้ pH ในเลือดและในเซลล์อยู่ในสภาวะที่เป็นด่างอ่อน ซึ่งเหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ส่วนใหญ่ในร่างกาย
- สร้างกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดในร่างกาย
- เป็นแหล่งพลังงาน ในบางภาวะที่ร่างกายขาดอาหารอย่างรุนแรง ร่างกายสามารถสลายโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนอิสระเพื่อนำไปสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายได้
คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้โปรตีน
- ความต้องการโปรตีนใน 1 วัน ความต้องการโปรตีนของร่างกายสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ระดับ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
- หากเป็นหญิงมีครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร มีความต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนตั้งครรภ์
- ในขณะที่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับโปรตีน 1.2-1.6 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
- ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายหรือนักกีฬาทั่วไปที่ต้องการพลังงานมากขึ้นแต่ไม่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ จะมีความต้องการโปรตีนเทียบเท่ากับคนปกติ
- ปริมาณที่สูงเกิน คือ การกินโปรตีนมากกว่า 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณการได้รับโปรตีนของแต่ละวัน สามารถปรับให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน
วิตามินซี (VITAMIN C)
วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น
สรรพคุณของวิตามินซี
- การป้องกันหวัด ต้องกินเป็นประจำทุกวัน หากเป็นหวัดแล้วจึงเริ่มกิน วิตามินซี จะไม่สามารถลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้
- สำหรับคนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50%
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการสร้างและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพิ่มความสามารถในการต้านการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
- ช่วยสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อกำจัดเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัส ลดภาวะการติดเชื้อไวรัส
- ลดการหลั่งสารฮีสตามีน ทำให้ลดน้ำมูก อาการแพ้ บวมแดง และคัน
- ปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรัง และความผิดปกติต่างๆ มี 2 ปัจจัย คือ
- ปัจจัยภายใน เช่น ความเครียด กระบวนการเผาผลาญอาหาร
- ปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด อาหาร ฝุ่น ควัน บุหรี่ และแอลกอฮอล์
- สร้างคอลลาเจน ซึ่งจะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ส่งผลให้ผิวเหี่ยวย่น ไม่เต่งตึง เกิดริ้วรอย
- ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สร้างเม็ดสี เพื่อลดการสร้างเม็ดสีที่มากเกินไป ช่วยลดรอยดำ ผิวหมองคล้ำ และช่วยให้ผิวขาว กระจ่างใส
คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้วิตามินซี
- แหล่งวิตามินซี คือ ผักผลไม้ อย่างผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เบอรี่ชนิดต่างๆ เป็นต้น จากผักบางชนิด เช่น พริกหวาน บร็อคโคลี มะเขือเทศ เป็นต้น
- โดยความต้องการต่อวันของวิตามินซี ตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563
- ในเด็กอายุ 1-8 ปี ควรได้รับ 25-40 มิลลิกรัมต่อวัน
- ในเด็กและวัยรุ่นช่วงอายุ 9-18 ปี ควรได้รับ 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน
- วัยผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 85-100 มิลลิกรัมต่อวัน
- วิตามินซีเสริมจากแหล่งอาหารปกติ เราควรเสริมแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 500 มิลลิกรัม เพราะการที่เรากินวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมภายในครั้งเดียว ร่างกายจะดูดซึมได้ประมาณ 43.5% และขับออกทางปัสสาวะอีก 25% เหลือร่างกายนำไปใช้ได้ประมาณ 25% เท่านั้น และไม่ควรรับประทานมากกว่า 3,000 มิลลิกรัม เพราะจะทำให้ปวดท้อง มวนท้อง และท้องเสียได้
- คุณอาจเคยได้ยินหรือเคยเห็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาที่ระบุว่า “Extended Release, Controlled Release, Sustained Release, Modified Release, Slow Release Technology” ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบเพื่อประสิทธิภาพ “การออกฤทธิ์” ของยาด้วยการควบคุมให้แตกตัวและดูดซึมในอวัยวะเป้าหมาย หรือค่อยๆ “ปลดปล่อย” ตัวยาออกมาในปริมาณที่สม่ำเสมอเป็นเวลานาน 4 หรือ 8 ชั่วโมง ปัจจุบันยาที่ผสมผสานนวัตกรรมนี้ ได้แก่ ยาระงับปวดชนิด Tramadol ยากันชัก และวิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นาน ที่ตอบโจทย์ผู้ที่ขาดวิตามินซีได้เป็นอย่างดีประโยชน์เด่นๆ ของวิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นานก็คือ
- ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น
- ช่วยลดปัญหาการระคายเคืองกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
- ลดความถี่ในการรับประทานลง ทำให้สะดวกมากขึ้น เช่น รับประทานเพียงวันละ 1-2 ครั้ง
- ควรรับประทานวิตามินซีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควบคู่ไปกับการรับประทานผักและผลไม้ปกติ ซึ่งให้วิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพโดยรวมที่ดีนั่นเอง
รู้หรือไม่ การสูบบุหรี่หนึ่งมวนจะผลาญวิตามินซีในปริมาณเท่ากับส้มเขียวหวาน (20-30 มิลลิกรัม) ราว 1 ผล!
ข้อมูลอ้างอิง :
- มูลนิธิหมอชาวบ้าน
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama
- กรมอนามัย http://www.anamai.moph.go.th
วิตามินบี (VITAMIN B)
วิตามินบี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ลดความเครียด และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
สรรพคุณของวิตามินบีี
- วิตามินบีจำเป็นต่อระบบการไหลเวียน จะมีโปรตีนแอนตีบอดี้ ทำหน้าที่ตรวจจับ และกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย กระบวนการสร้างโปรตีนแอนติบอดี้ จำเป็นต้องใช้วิตามินบีร่วมด้วยเสมอ
- งานวิจัยพบว่า วิตามินบี 5 และ บี 6 มีส่วนสำคัญต่อจำนวนเซลล์ ที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนแอนติบอดี้ในร่างกาย
- วิตามินบีรวมเป็นโคเอนไซม์ร่วม ในการสร้างระบบภูมิต้านทาน ซึ่งจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องอยู่บนพื้นฐานการทำงานของเซลล์ที่สมบูรณ์ ระบบชีวเคมีพื้นฐานในเซลล์ ต้องการวิตามินบีรวมเป็นโคเอนไซม์ร่วมด้วย
- วิตามินบี 9 และบี 12 มีผลต่อการสร้างกรดนิวคลิอิค (จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์) ในเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นเซลล์ด่านหน้า ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ช่วยต่อต้านเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่างๆ
คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้วิตามินบี
- เทคโนโลยีการปลดปล่อยวิตามินบีแบบทันที (Instant Release) และแบบออกฤทธิ์นาน (Extended Release) ช่วยให้ร่างกายดูดซึม และรักษาระดับวิตามินบีรวมได้ดีขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินขนาดสูงๆ
- การบริโภควิตามินบีมากเกินความจำเป็นก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาเจียน ผื่นขึ้น เวียนศีรษะ หรือตับอักเสบ เป็นต้น ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย
- ผลข้างเคียงของการใช้วิตามินบีรวมที่พบได้ทั่วไป คือ ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มและสว่างขึ้น ซึ่งเกิดจากการขับวิตามินส่วนเกินออกของร่างกาย แต่ไม่ใช่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารการฝึกอบรม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามินบี ของนิวทริไลท์
ยังไม่หมดนะครับสำหรับสารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ติดตามได้ต่อใน EP.2
คลิกลิงค์ สารอาหารสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมรับในทุกสถานการณ์
ฝากช่วยกด Like กด Share ด้วย ขอบคุณครับผม
เป็นเพื่อนแชทพูดคุยสอบถามกันได้ที่ Line ID : @chavanut และ IG: chavy212