8 วิธีสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองเริ่มต้น

การเริ่มต้นด้วยแรงจูงใจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเรื่มต้นที่ดีสามารถสร้างแรงผลักดันให้คงอยู่ไปอีกยาวนาน ถ้าคุณเริ่มต้นถูกต้องแล้ว โอกาสที่คุณจะประสบกับความสำเร็จก็จะยิ่งมีมากขึ้น ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการเริ่มต้น

  1. เริ่มต้นทีละน้อย นี่คือเคล็ดลับสำคัญที่สุด! อย่าเริ่มต้นด้วยเป้าหมายที่ใหญ่โต!!! แต่ให้เริ่มต้นด้วยเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ง่ายดาย
  2. เป้าหมายหนึ่งเดียว การเริ่มต้นด้วยเป้าหมายมากมาย และพยายามทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน เป็นการสูบพลังและบั่นทอนแรงจูงใจ คุณต้องเลือกเป้าหมายหนึ่งเดียว และจดจ่อกับมันให้เต็มที่
  3. ตรวจสอบแรงจูงใจ ทำความเข้าใจเหตุผลของคุณเอง ใช้เวลาไตร่ตรอง แล้วเขียนมันออกมา การทำเพื่อคนที่รักจะเป็นแรงจูงใจทรงพลังกว่าการทำเพื่อตัวเอง แต่ถ้าจะทำเพื่อตัวเอง คุณต้องรู้ว่าคุณทำสิ่งนั้นเพราะอะไร และต้องเป็นเหตุผลที่ดีด้วย
  4. ต้องการอย่างสุดหัวใจ สิ่งที่คุณต้องการ ต้องเป็นสิ่งที่คุณหลงใหล ตื่นเต้นสุดขีดและโหยหาสุดหัวใจ
  5. ประกาศให้คนอื่นได้รับรู้ เราจะพยายามมากกว่าปกติ เพื่อทำให้สิ่งที่เราประกาศไว้กลายเป็นจริง
  6. รู้สึกตื่นเต้น ความตื่นเต้นเกิดขึ้นจากการได้รับแรงบันดาลใจจากคนอื่น ซึ่งคุณควรนำความรู้สึกตื่นเต้นดังกล่าวมาต่อยอด นึกภาพว่าเป็นอย่างไรถ้าสำเร็จ จินตนาการให้เห็นถึงประโยชน์ของเป้าหมายดังกล่าว
  7. สร้างความคาดหวัง เคล็ดลับนี้อาจฟังยาก และมองข้ามไป แต่มันใช้ได้ผลจริง ๆ เมื่อคุณค้นพบแรงบันดาลใจและต้องการไปให้ถึงจุดหมาย อย่าเริ่มต้นทันที! ขอให้กำหนดวันล่วงหน้า อาจเป็นหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แม้อาจเป็นเดือนหน้า นั่นเท่ากับเป็นการสร้างความคาดหวัง มันจะทำให้คุณจดจ่อกับเป้าหมายมากขึ้นและมีพลัง
  8. พิมพ์เป้าหมายออกมาแปะไว้ พิมพ์เป้าหมายตัวโต ๆ ใส่กระดาษ (ใช้ถ้อยคำสั้นและกระชับ) แล้วแปะทิ้งไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน บนผนังหรือตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า หน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช้รูปภาพที่สื่อถึงเป้าหมาย เป็นตัวกระตุ้นเตือน ก็ช่วยได้

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ : ทำน้อยให้ได้มาก

เขียนโดย : Leo Babuata

สำนักพิมพ์ : WE LEARN

เป็นเพื่อนแชทพูดคุยสอบถามกันได้ที่ Line ID : @chavanut และ IG: chavy212

รู้ได้อย่างไร ? ว่าคุณอ้วน!

จริงดิ! ฉันอ้วนเหรอ…ไม่จริง ไม่จริ๊ง?

ประโยคนี้มักจะได้ยินกันบ่อยนะครับ
หรืออย่าง…ถึงอ้วนฉันก็น่ารักนะ! นั่น
ว่าไปได้เรื่อย ๆ หุหุ!! การที่มีคนทักก็
แสดงว่าต้องมีอะไรสักอย่างที่เขาเริ่ม
สังเกตุเห็นแล้วล่ะ ! แต่เราเลือกที่จะ
แกล้งมองไม่เห็น เอ้า! แล้วตกลงจะรู้
ได้อย่างไรว่า… อ้วนหรือไม่อ้วน มีวิธี
เช็คดูครับด้วยตัวเองง่าย ๆ ••>

1. ตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย
คือ วัดมวลไขมัน, มวลกล้ามเนื้อ ทำ
ได้โดยใช้เครื่องชั่งหรืออุปกรณ์ที่มัน
สามารถวัดมวลไขมันและมวลกล้าม
เนื้อได้ และคำนวณให้เราดูได้ว่าเรา
อ้วนหรือไม่ เช่น เครื่องชั่งออมรอน
(Omron)
หรือสายรัดข้อมือ Inbody
เป็นต้น

2. คำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) สูตร
การคำนวณคือ
BMI = น้ำหนัก (กก.)/ส่วนสูง(ม.)
(ยกกำลังสอง)
ตย. หนัก 68 กก. สูง 173 ซม.
BMI = 78 กก. /(1.73 x 1.73)
ได้ค่า BMI = 26 นำไปเทียบกับ
ตารางนี้…

น้อยกว่า 18.0………….น้ำหนักน้อย
18.0-22.9……………..น้ำหนักปกติ
23.0-24.9………………น้ำหนักเกิน
25.0-29.9……………………….อ้วน
30.0-34.9……………….อ้วนมากก
35.0-39.9………………อ้วนรุนแรง
40.0 ขึ้นไป……………อ้วนอันตราย

3. วัดเส้นรอบพุง ความเสี่ยงต่อการ
เป็นโรคเพิ่มขึ้นเมื่อรอบพุงวัดได้
ผู้ชาย มากกว่า 90 ซม. (36 นิ้ว)
ผู้หญิง มากกว่า 80 ซม. (32 นิ้ว)

4. สัดส่วนเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบของ
ตะโพก
คือ…

เส้นรอบเอว/เส้นรอบตะโพก ได้ค่า…
ผู้ชาย มากกว่า 0.9
ผู้หญิง มากกว่า 0.8

ถ้าเกินนั่นคือคุณอ้วนและเสี่ยงต่อการ
เป็นโรคเพิ่มขึ้นไปด้วย

จำไว้ได้เลยนะครับว่าาาา… อ้วนเสี่ยง
ต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน
ความดัน หลอดเลือด หัวใจ อัมพาต
พิการ และอีกเพียบที่ตามมา ผมว่าถึง
เวลาแล้วนะครับที่เราควรจะต้องกันมา
เอาใจใส่ดูแลตัวเอง ถามตัวเองดูครับ
ว่าถึงเวลาแล้วหรือยังงงงง !!!!!

เป็นเพื่อนแชทพูดคุยสอบถามกันได้ที่ Line ID : @chavanut และ IG: chavy212