สารอาหารสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมรับในทุกสถานการณ์ EP.1

          จากในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันนี้ มันกำลังบอกว่า “อ่อนแอก็แพ้ไป” เหมือนโลกกะลังจัดระเบียบชีวิตของมนุษย์ใหม่ที่เราเรียกกันว่า New Normal แบบใช้มาตรการรุนแรงกันเลยทีเดียวเชียว พลันทำให้นึกถึงประโยคหนึ่งของชายคนนี้

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ (Charles Darwin) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เคยกล่าวไว้เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วว่า…..

“ไม่ใช่สายพันธุ์ ที่ฉลาดหรือแข็งแกร่งที่สุดที่อยู่รอด หากแต่เป็นการปรับตัว

การปรับตัวใช่มั๊ย? ที่ทำให้เราอยู่รอดต่อไปได้ในโลกสวยงามใบนี้ต่อไป ดูดิ!!! ขนาดไวรัสมันยังกลายพันธุ์ ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของมัน มันถึงได้อยู่คู่โลกมาจนถึงปัจจุบัน แล้วนี่ถ้าเราไม่ปรับตัวหรือทำอะไรสักอย่าง เราคงต้องสูญพันธุ์เพราะพวกมันแน่ๆ แล้วเราจะปรับตัวยังไงถึงจะอยู่รอดได้ ในสถานการณ์ไวรัสระบาด เริ่มจากตัวเองง่ายที่สุด โดยการสร้างหรือเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตัวเราเอง ด้วยสารอาหารเหล่านี้ นี่แหละที่เราทำได้ด้วยตัวเอง เริ่มจาก…

โปรตีน (PROTEIN)

โปรตีน สารสำคัญในการสร้างเซลล์ และสารต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน

สรรพคุณของโปรตีน

  1. ให้กรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
  2. ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและโครงสร้างของร่างกาย รวมทั้งช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สึกหรอ
  3. สร้างสารทำงานต่างๆ ในร่างกาย เช่น เอนไซม์และฮอร์โมนหลายชนิด รวมทั้งช่วยนำพาและขนส่งสารหลายชนิดในเลือด
  4. สร้างภูมิต้านทาน โดยสร้างสารแอนติบอดีทำหน้าที่จับและทำลายสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
  5. ดูแลสมดุลของเหลว โปรตีนในเลือดทำหน้าที่รักษาสมดุลออสโมติก (Osmotic Balance) ทั้งในเลือดและในเซลล์
  6. เนื่องจากเซลล์และสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกันเป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่ได้จากอาหารโปรตีนที่ร่างกายรับประทานเข้าไป
  7. ดูแลสมดุลกรด-ด่าง โปรตีนในเลือดช่วยควบคุมปริมาณอิออนไฮโดรเจน ทำให้ pH ในเลือดและในเซลล์อยู่ในสภาวะที่เป็นด่างอ่อน ซึ่งเหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ส่วนใหญ่ในร่างกาย
  8. สร้างกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดในร่างกาย
  9. เป็นแหล่งพลังงาน ในบางภาวะที่ร่างกายขาดอาหารอย่างรุนแรง ร่างกายสามารถสลายโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนอิสระเพื่อนำไปสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายได้

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้โปรตีน

  1. ความต้องการโปรตีนใน 1 วัน ความต้องการโปรตีนของร่างกายสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ระดับ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
    • หากเป็นหญิงมีครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร มีความต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนตั้งครรภ์
    • ในขณะที่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับโปรตีน 1.2-1.6 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
    • ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายหรือนักกีฬาทั่วไปที่ต้องการพลังงานมากขึ้นแต่ไม่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ จะมีความต้องการโปรตีนเทียบเท่ากับคนปกติ
  2. ปริมาณที่สูงเกิน คือ การกินโปรตีนมากกว่า 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณการได้รับโปรตีนของแต่ละวัน สามารถปรับให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน

วิตามินซี (VITAMIN C)

วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น

สรรพคุณของวิตามินซี

  1. การป้องกันหวัด ต้องกินเป็นประจำทุกวัน หากเป็นหวัดแล้วจึงเริ่มกิน วิตามินซี จะไม่สามารถลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้
  2. สำหรับคนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50%
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการสร้างและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพิ่มความสามารถในการต้านการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  4. ช่วยสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อกำจัดเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัส ลดภาวะการติดเชื้อไวรัส
  5. ลดการหลั่งสารฮีสตามีน ทำให้ลดน้ำมูก อาการแพ้ บวมแดง และคัน
  6. ปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรัง และความผิดปกติต่างๆ มี 2 ปัจจัย คือ
    • ปัจจัยภายใน เช่น ความเครียด กระบวนการเผาผลาญอาหาร
    • ปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด อาหาร ฝุ่น ควัน บุหรี่ และแอลกอฮอล์
  7. สร้างคอลลาเจน ซึ่งจะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ส่งผลให้ผิวเหี่ยวย่น ไม่เต่งตึง เกิดริ้วรอย
  8. ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สร้างเม็ดสี เพื่อลดการสร้างเม็ดสีที่มากเกินไป ช่วยลดรอยดำ ผิวหมองคล้ำ และช่วยให้ผิวขาว กระจ่างใส

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้วิตามินซี

  1. แหล่งวิตามินซี คือ ผักผลไม้ อย่างผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เบอรี่ชนิดต่างๆ เป็นต้น จากผักบางชนิด เช่น พริกหวาน บร็อคโคลี มะเขือเทศ เป็นต้น
  2. โดยความต้องการต่อวันของวิตามินซี ตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563
    • ในเด็กอายุ 1-8 ปี ควรได้รับ 25-40 มิลลิกรัมต่อวัน
    • ในเด็กและวัยรุ่นช่วงอายุ 9-18 ปี ควรได้รับ 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน
    • วัยผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 85-100 มิลลิกรัมต่อวัน
  3. วิตามินซีเสริมจากแหล่งอาหารปกติ เราควรเสริมแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 500 มิลลิกรัม เพราะการที่เรากินวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัมภายในครั้งเดียว ร่างกายจะดูดซึมได้ประมาณ 43.5% และขับออกทางปัสสาวะอีก 25% เหลือร่างกายนำไปใช้ได้ประมาณ 25% เท่านั้น และไม่ควรรับประทานมากกว่า 3,000 มิลลิกรัม เพราะจะทำให้ปวดท้อง มวนท้อง และท้องเสียได้
  4. คุณอาจเคยได้ยินหรือเคยเห็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาที่ระบุว่า “Extended Release, Controlled Release, Sustained Release, Modified Release, Slow Release Technology” ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบเพื่อประสิทธิภาพ “การออกฤทธิ์” ของยาด้วยการควบคุมให้แตกตัวและดูดซึมในอวัยวะเป้าหมาย หรือค่อยๆ “ปลดปล่อย” ตัวยาออกมาในปริมาณที่สม่ำเสมอเป็นเวลานาน 4 หรือ 8 ชั่วโมง ปัจจุบันยาที่ผสมผสานนวัตกรรมนี้ ได้แก่ ยาระงับปวดชนิด Tramadol ยากันชัก และวิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นาน ที่ตอบโจทย์ผู้ที่ขาดวิตามินซีได้เป็นอย่างดีประโยชน์เด่นๆ ของวิตามินซีชนิดออกฤทธิ์นานก็คือ
    • ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น
    • ช่วยลดปัญหาการระคายเคืองกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
    • ลดความถี่ในการรับประทานลง ทำให้สะดวกมากขึ้น เช่น รับประทานเพียงวันละ 1-2 ครั้ง
  5. ควรรับประทานวิตามินซีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควบคู่ไปกับการรับประทานผักและผลไม้ปกติ ซึ่งให้วิตามิน เกลือแร่ และไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพโดยรวมที่ดีนั่นเอง

รู้หรือไม่ การสูบบุหรี่หนึ่งมวนจะผลาญวิตามินซีในปริมาณเท่ากับส้มเขียวหวาน (20-30 มิลลิกรัม) ราว 1 ผล!

ข้อมูลอ้างอิง :

  1. มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  3. นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama
  4. กรมอนามัย http://www.anamai.moph.go.th

วิตามินบี (VITAMIN B)

วิตามินบี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ลดความเครียด และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

สรรพคุณของวิตามินบีี

  1. วิตามินบีจำเป็นต่อระบบการไหลเวียน จะมีโปรตีนแอนตีบอดี้ ทำหน้าที่ตรวจจับ และกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย กระบวนการสร้างโปรตีนแอนติบอดี้ จำเป็นต้องใช้วิตามินบีร่วมด้วยเสมอ
  2. งานวิจัยพบว่า วิตามินบี 5 และ บี 6 มีส่วนสำคัญต่อจำนวนเซลล์ ที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนแอนติบอดี้ในร่างกาย
  3. วิตามินบีรวมเป็นโคเอนไซม์ร่วม ในการสร้างระบบภูมิต้านทาน ซึ่งจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องอยู่บนพื้นฐานการทำงานของเซลล์ที่สมบูรณ์ ระบบชีวเคมีพื้นฐานในเซลล์ ต้องการวิตามินบีรวมเป็นโคเอนไซม์ร่วมด้วย
  4. วิตามินบี 9 และบี 12 มีผลต่อการสร้างกรดนิวคลิอิค (จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์) ในเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นเซลล์ด่านหน้า ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ช่วยต่อต้านเชื้อโรค และเชื้อไวรัสต่างๆ

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้วิตามินบี

  1. เทคโนโลยีการปลดปล่อยวิตามินบีแบบทันที (Instant Release) และแบบออกฤทธิ์นาน (Extended Release) ช่วยให้ร่างกายดูดซึม และรักษาระดับวิตามินบีรวมได้ดีขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินขนาดสูงๆ
  2. การบริโภควิตามินบีมากเกินความจำเป็นก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาเจียน ผื่นขึ้น เวียนศีรษะ หรือตับอักเสบ เป็นต้น ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย
  3. ผลข้างเคียงของการใช้วิตามินบีรวมที่พบได้ทั่วไป คือ ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มและสว่างขึ้น ซึ่งเกิดจากการขับวิตามินส่วนเกินออกของร่างกาย แต่ไม่ใช่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย

ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารการฝึกอบรม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามินบี ของนิวทริไลท์

ยังไม่หมดนะครับสำหรับสารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ติดตามได้ต่อใน EP.2

คลิกลิงค์ สารอาหารสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมรับในทุกสถานการณ์

ฝากช่วยกด Like กด Share ด้วย ขอบคุณครับผม

เป็นเพื่อนแชทพูดคุยสอบถามกันได้ที่ Line ID : @chavanut และ IG: chavy212

Leave a Comment